วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พาไปชม ค่ายบำบัดผู้ติดเน็ต ติดเกมส์ ในประเทศจีน

พาไปชม ค่ายบำบัดผู้ติดเน็ต ติดเกม ในประเทศจีน

บำบัดเด็กติดเกม
โลกในยุคปัจจุบัน อินเตอร์ กลายเป็นช่องทางการสื่อสารที่ขาดไม่ได้สำหรับบางคนไปเสียแล้ว เพราะทั้งสะดวกรวดเร็วใช้ง่าย อยากจะทำอะไรก็ได้ หาอะไรก็เจอ แต่ในข้อดีของอินเตอร์เน็ตมันก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันตรงที่อาจทำให้ผู้ที่ติดการใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นคนเก็บตัว ไม่ยอมออกไปไหน ไม่พบปะผู้คน เอาแต่นั่งหน้าจอ เก่งแต่ในโลกออนไลน์ไปวันๆ สุขภาพร่างกายก็แย่ลงๆ ซึ่งในจุดนี้ประเทศไทยเราอาจจะไม่ค่อยพบปัญหาเท่าไหร่ แต่สำหรับในประเทศที่อินเตอร์เน็ตเหมือนปัจจัย 5 หรือ 6 ของชีวิตไปแล้วอย่างประเทศจีน พบว่าบ้านเขามีปัญหาเด็กที่ติดอินเตอร์เน็ตและเกมออนไลน์อยู่มาก แถมไม่ใช่แค่เด็กเท่านั้น เรายังเห็นข่าวว่าแม้แต่พ่อแม่ผู้ปกครองเองบางรายก็ติดถึงขนาดไม่ยอมเลี้ยงลูกหรือไม่ยอมทำงานเลยทีเดียว
และด้วยปัญหาดังกล่าวนี้ ทางรัฐบาลจีนจึงคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาเด็กติดเน็ตและเกมส์ออนไลน์ ตามรายงานข่าวจากสำนักข่าว CRI ระบุว่า ทางการจีนได้เปิดค่ายทหารกว่า 250 แห่งทั่วประเทศ ให้เป็นศูนย์บำบัดผู้ติดเกมส์ติดอินเตอร์เน็ต เมื่อช่วงต้นปี 2014 นี้ เป็นโครงการของรัฐบาลจีนที่ช่วยเหลือผู้ติดเน็ต ให้หันมาใช้ชีวิตแบบ Offline กันบ้าง ก่อนจะมีสุขภาพจิตและร่างกายที่ย่ำแย่ หากติดอินเตอร์เน็ตและเกมส์เป็นเวลานาน โดยเปิดรับสมัครจากพ่อแม่ผู้ปกครองที่สนใจอยากส่งลูกหลานมาบำบัด ซึ่งในวันนี้ได้มีภาพตัวอย่างในค่ายทหารของโครงการบำบัดผู้ติดอินเตอร์เน็ตนี้มาให้ดูกัน
ภาพจาก CFP
บำบัดเด็กติดเกม
เกมส์
ติดเกม
เกม
เกมส์
ลักษณะการฝึกของโครงการนี้ ก็จะคล้ายๆกับการฝึกทหารเลย โดยเน้นการฝึกร่างกายให้แข็งแรง และฝึกวินัย โดยมีครูฝึกทหารมาฝึกให้กับน้องๆ แต่ก็ไม่ถึงกับโหดเท่าการฝึกทหาร ซึ่งนอกเหนือจากการฝึกและการเรียนต่างแล้ว ก็จะมีกิจกรรมการเล่นดนตรี กีฬา และอื่นๆที่เป็นกิจกรรม Offline ให้เล่นกันเต็มที่ เพื่อให้ลืมการใช้ชีวิตในโลก Online ไปให้ได้ รวมถึงมีการตรวจวัดคลื่นสมองเช็คสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้กับผู้เข้ารับการบำบัดอยู่เสมอๆ เพื่อเช็คดูว่าผลการบำบัดและการวิจัยส่งผลดีขึ้นหรือไม่อย่างไร
ประเทศไทยถ้าอนาคตเกิดมีปัญหาเด็กติดเน็ต ติดเกม มากๆเข้าแบบจีน รัฐบาลไทยก็อาจใช้โครงการแบบเดียวกันก็เป็นได้
.......... .......... .......... .......... ..........

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น